สวัสดีครับผู้เยี่ยมชมทุกท่าน บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนในรายวิชานวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษา ภาคเรียนที่ 1/2556สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3

หน่วยที่ 2

หน่วยที่ 2 หลักการแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับ นวัตกรรม เทคโนโลยี และ สารสนเทศ
หน่วยที่  2
หลักการแนวคิด ทฤษฏีเกี่ยวกับนวัตกรรมเทคโนโลยี และสารสนเทศ

เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การ นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สำหรับการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้การสอนมี    ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาผลิตอุปกรณ์ เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ นำมาใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ที่สำคัญ คือ
                1.บุคคลมีความแตกต่างกันในด้านบุคลิกภาพและสภาพจิตวิทยา
                2.ความแตกต่างกันดังกล่าวนี้เป็นเพราะบุคคลมีการเรียนรู้
                3.บุคคลที่อยู่ต่างสภาพแวดล้อมกันจะได้รับการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
                4.การเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
ทำให้บุคคลมีทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อถือ และบุคลิกภาพที่แตกต่าง

หลักการ ทฤษฎี แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา  ประกอบด้วย
                1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
                               1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ 
                               1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
                               1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ
                2. ทฤษฎีการสื่อสาร คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคล
                3. ทฤษฎีระบบ  เป็นสาขาวิชาที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวความคิดหลายสาขา โดยทำแนวคิดจากหลายสาขาวิชามาประยุกต์ผสมผสานสร้างเป็นทฤษฎีระบบขึ้นมา
                4. ทฤษฎีการเผยแพร่ เกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลักการและความรู้ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการ

ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา
                “นวัตกรรมการศึกษา" การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น ทั้งในส่วนที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม ให้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้นำมาดำเนินการหรือสนับสนุน ส่งผลให้การเรียนรู้ มีประสิทธิภาพสูงสุด

ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา
                1.ผู้เรียนในการศึกษาภาคบังคับมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น 
                2.สาระเนื้อหาที่เปิดกว้างมากกว่าในชั้นเรียน
                3.ผู้เรียนมีอิสระในการเข้าถึงและเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
                4.ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเป็นส่วนผลักดันให้
                ผู้เรียนมีการใช้นวัตกรรมต่างๆมากยิ่งขึ้น






การประยุกต์ทฤษฎีมาใช้ในนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
3. ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ

4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย ไม่เกิดความคับข้องใจ เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น